นิยามศัพท์ทางฟิสิกส์ เช่น ปริมาณทางฟิสิกส์ และหน่วยในการวัดปริมาณ
การรวมเว็คเตอร์ เชิงเส้น และ เว็คเตอร์ที่ทำมุมกัน
การเคลื่อนที่เชิงเส้นหรือในแนวตรง
การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
การเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่
สมการการเคลื่อนที่ในแนวตรง
1: v = u + at
2: s = (u + v)/2 . t
3: s = ut + 1/2a t^2
4: v^2 = u^2 + 2as
เมื่อ v เป็น ความเร็วปลาย u เป็นความเร็วเริ่มต้น a คือความเร่ง และ t เป็นเวลาที่ใช้จากความเร็วต้นมาเป็นความเร็วปลาย
กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
กฏข้อที่ 1 วัตถุที่นิ่ง หรือ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ก็จะนิ่งและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ต่อไป ตามเท่าที่ไม่มีแรงลัพธ์จากภายนอกมากระทำ
กฏข้อที่ 2 ของนี้วตั้น แรงที่กระทำต่อวัตถุเป็นปฏิภาคตรงกับความเร่งที่เกิดขึ้นและมวลของวัตถุ ขณะเดียวกัน ความเร่งเป็นปฏิภาคกลับกับมวลของวัตถุ กล่าวคือ แรงเท่ากับผลคูณของมวล F = ma
กฏข้อที่ 3 ทุกแรงกิริยาที่กระทำต่อวัตถุหนึ่งกระทำต่อวัตถุที่สอง แล้วจะมีแรงปฏิกิริยาจากวัตถุที่สองกระทำต่อวัตถุที่หนึ่งด้วยขนาดของแรงเท่ากันแต่ทิศทางตรงกันข้ามกัน
ตัวอย่าง 1 วัตถุหนึ่งมีมวล 20 kg วางนิ่งอยู่บนพื้นลื่น ต่อมามีแรงกระทำทำให้วัตถุมีความเร็ว 24 m/s ภายในเวลา 8 วินาที จงหาขนาดของแรงที่กระทำ
หลักคิด แรงเป็นไปตามกฏข้อที่ 2 ของนิวตัน รู้ค่ามวล แต่ยังไม่รู้ ความเร่ง สามารถหาความเร่งจากสมการการเคลื่อนที่ v = u + at ที่ไม่ทราบค่าคือ a นำไปหาค่าแรงได้
ตัวอย่าง 2 วัตถุมวล 5 kg ตกจากดาษฟ้าตึกสูง 100 m อย่างอิสระ จงหาขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุ
หลักคิด ดูว่าวัตถุมีแรง ภายนอกใดมากระทำวัตถุบ้าง มีเพียงอย่างเดียวคือแรงความโน้มถ่วง หรือแรงดึงดูดของโลก หรือแรงดึงดูดระหว่างมวล ที่ต่างก็ดึงดูดกันและกันเป็นแรงต่างร่วม ซึ่งได้แก่น้ำหนักของวัตถุนั่นเอง
ตัวอย่างที่ 3 วัตถุหนึ่งถูกแรง 200 N กระทำแล้วทำให้เกิดความเร่ง 10 m/s^2 ถ้าวัตถุก้อนนี้ถูกแรง 100 นิวตัน กระทำจะเกิดความเร่งเท่าใด
หลักคิด โจทย์กำหนดแรงและความเร่งจึงหามวลของวัตถุได้ ตามกฏข้อที่ 2 เมื่อทราบค่ามวลก็สามารถหาความเร่ง เมื่อออกแรง 100 N ได้
ตัวอย่างที่ 4 ออกแรงผลักกล่องมวล 10 kg ตามแนวระดับเคลื่อนไถลไปตามพื้นราบกล่องเริ่งเคลื่อนที่ต้องใช้แรง 70 N หลังจากนั้นกล่องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่โดยใช้แรงผลักเพียง 40N
ก. ให้หาแรงเสียดทานสถิตย์สูงสุด และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตย์ระหว่างผิวกล่องกับพื้นราบ
ข. แรงเสียดทานจลน์และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ระหว่างผิวกล่องกับพื้น
หลักคิด การผลักวัตถุที่วางบนพื้นที่มีความเสียดทานให้เริ่มเคลื่อนที่ได้เรียกว่าแรงเสียดทานสถิตย์ แต่เมื่อเคลื่อนที่แล้วจะมีความเสียดทานน้อยลงจึงใช้แรงน้อยลง ทั้งแรงเสียดทานสถิตย์และแรงเสียดทานจลน์หาได้จากความสัมพันธ์ f = ŋN ŋคือสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน
การที่วัตถุเคลื่อนได้โดยใช้แรง 70 N แสดงว่า แรงเสียดทานเท่ากับ 70N พอดีเพราะเริ่มเคลื่อน แต่พอเคลื่อนแล้วใช้แรงน้อยลงเป็น 40N เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ แสดงว่ามีแรงเสียดทานคงที่กระทำต่อวัตถุเช่นกัน นั่นคื่อแรงเสียดทานเท่ากับแรงที่ออกคือ 40 N เมื่อรู้ค่าแรงเสียดทานก็นำไปคำนวนหา สัมประสิทธิ์ความเสียดทานได้
ตัวอย่างที่ 5 ลังใบหนึ่งมวล 120 kg ตำลงมาจากรถกระบะพ่อค้า ที่กำลังแล่นด้วยความเร็ว 20 m/s ถ้าลังใบนี้ไถลตามพื้นถนนไปได้ไกล 50 m จึงหยุด จงหาขนาดแรงต้านทานการเคลื่อนที่ของพื้นถนนที่กระทำต่อลัง
หลักคิด เมื่อลังตกจากรถความเร็วเท่ากับรถคือ 20m/s และเคลื่อนไปได้ 50 m แล้วหยุดนิ่ง คำนวนหาความเร่งได้จากสมการการเคลื่อนที่ v^2 = u^2 + 2as แล้วหาแรงกระทำได้จากกฏข้อที่2 F =ma ซึ่งเป็นแรงต้านการเคลื่อนที่นั่นเอง
ตัวอย่างที่ 6 ออกแรง 500 N ทำมุม 30องศา กับแนวระดับ ถึงวัตถุมวล 40 kgซึ่งวางอยู่่บนพื้นมีสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน 0.4. ให้เคลื่อนที่ไปในแนวระดับจงหาความเร่งของวัตถุ
หลักคิด วัตถุเคลื่อนที่ในแนวระดับ เฉพาะแรงในแนวระดับมีผลต่อการเคลื่อนที่จึงต้องแตกแรง ให้อยู่ในแนวระดับและแนวตั้งฉาก แรงในแนวดิ่งนำไปคำนวณหาแรงเสียดทาน เมื่อทราบแรงเสียดทาน นำไปหักล้างกับแรงที่ออกให้วัตถุ แล้วคำนวณหาความเร่งได้ โดยใช้กฏข้อที่สอง
แรงลัพธ์ = ma
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
วัตถุทั้งมีการเริ่มต้นเคลื่อนที่ เคลื่อนที่ช้าลง เคลื่อนที่เป็นทางโค้ง บทที่แล้วกล่าวถึงวัตถุที่จุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ โดยไ...
-
การสั่นเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นที่อาจก่อให้เกิดคลืนได้ ส่วนคลื่นจากแหล่งกำเนิดการสั่นใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ไป นอกจากเป็นคลื่นแม่...
-
การเคลื่อนที่มีอยู่รอบตัวเรา กลางคืนจะเห็นการเคลื่อนที่ของดวงดาว การเคลื่อนที่ของอะตอมแม้จะมองไม่เห็น ทำให้เกิดความร้อน หรือเสียง การเคลื่อ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น