วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 2การเคลื่อนที่

การเคลื่อนที่มีอยู่รอบตัวเรา กลางคืนจะเห็นการเคลื่อนที่ของดวงดาว  การเคลื่อนที่ของอะตอมแม้จะมองไม่เห็น ทำให้เกิดความร้อน หรือเสียง การเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนก่อให้เกิดไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ การเคลื่อนที่จึงมีทุกหนทุกแห่ง แม้ว่าสิ่งที่เห็นจะหยุดนิ่ง แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่าไม่มีอะไรที่หยุดนิ่งมีแต่การเคลื่อนที่สัมพันธ์กัน
      ความพยายามจะอธิบายการเคลื่อนที่โดยอาศัย อัตรา ที่ให้ปริมาณหารด้วยเวลา ซึ่งจะบอกว่าบางสิ่งเร็วเท่าใด หรือบางอย่างเปลี่ยนแปลงเท่าใดในช่วงเวลาที่แน่ชัด ในบทนี้จะได้เรียนรู้ที่จะอธิบายการเคลื่อนที่ด้วยอัตรา ที่รู้จักคือ อัตราเร็ว, ความเร็ว และความเร่ง

2.1 การเคลื่อนที่เป็นความสัมพันธ์
      ทุกสิ่งเคลื่อนที่แม้ว่าสิ่งที่เห็นว่าหยุดนิ่งก็ตาม เป็นการเคลื่อนที่เมื่อเทียบกับหรือ สัมพันธ์กับ  ดวงอาทิตย์ ดวงดาว หนังสือวางนิ่งบทโตะ หรือหนังสืออยู่นิ่งเมื่อเทียบกับโต๊ะ  แต่ทุกอย่างเคลื่อนที่ 30 กิโลเมตรต่อวินาทีเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ และจะยิ่งมีการเคลื่อนที่เร็วขึ้นไปอีกเมื่อเทียบกับศูนย์กลางดาราจักร (galaxy) เมื่ออภิปรายถึงการเคลื่อนที่ของบางอย่าง เราอธิบายการเคลื่อนที่เทียบกับสิ่งอื่น เมื่อกล่าวว่ายานกระสวยเคลื่อนที่ 8 กิโลเมตรต่อวินาที เราหมายถึงเทียบกับโลกด้านล่าง ในการแข่งรถยนต์ ที่กล่าวว่ารถอินดิเข้าถึงอัตราเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แน่นอนว่าเราหมายถึงเทียบกับทางวิ่ง นอกจากว่าเป็นอย่างอื่น  เมื่อเราพูดถึงอัตราเร็วของสิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมของเรา นั้นจะคิดเทียบกับพื้นผิวโลกเสมอ

2.2 อัตราเร็ว
     วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เดินทางด้วยระยะทางหนึ่งในเวลาที่กำหนด  ตัวอย่างเช่นรถยนต์คันหนึ่งเดินทางได้หลายกิโลเมตรใน 1 ชั่วโมง  อัตราเร็วเป็นการวัดว่ามีวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเท่าใด เป็นเรื่องของอัตราของระยะทาง คำว่าอัตราเป็นนัย บอกใบ้ว่ามีบางอย่าง(ปริมาณ)หารด้วยเวลา  อัตราเร็วมักจะวัดในเทอมของหน่วยระยะทางหารด้วยหน่วยเวลา จึงกำหนดอัตราเร็วเป็นระยะทางที่วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งเคลื่อนที่ไปได้ต่อหน่วยเวลา คำว่าต่อ (per) หมายถึงหารด้วย การรวมหน่วยระยะทางและเวลาให้เป็นหน่วยของอัตราเร็ว เช่นกิโลเมตรรต่อชั่วโมง(km/h) ไมล์ต่อชั่วโมง (mi/h) เมตรต่อวินาที (m/s) เซ้นติเมตรต่อวัน (อัตราเร็วหอยทากที่ป่วย) เครื่องหมาย / อ่านว่า ต่อ

อัตราเร็วโดยประมาณในหน่วยที่ต่างกัน
40 km/h   =  25 mi/h  = 11 m/s
80 km/h   =  50 mi/h  = 22 m/s
120 km/h = 75 mi/h   = 33m/s

    อัตราเร็วที่ขณะใดขณะหนึ่ง 
รถยนต์ที่วิ่งอยู่ทั่วไปไม่ได้เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเท่าเดิมตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นออกรถ แล้วค่อยเพิ่มความเร็วขึ้นจนถึงระดับที่ต้องการ  บางคร้งก็ต้องหยุดที่ไฟแดง บางครั้งต้องชะลอรถด้วยเหตุต่างๆ อ้ตราเร็วรถที่สถานะการณ์ต่างๆ นั้นเรียกว่าอัตราเร็วที่ขณะหนึ่งขณะใด(instantaneous speed)
    อัตราเร็วเฉลี่ย (average speed)
ในการวางแผนการเดินทางส่วนใหญ่อยากทราบว่าใช้เวลานานเท่าใดโดยประมาณ เพื่อเดินทางให้ถึงเป้าหมายที่ต้องการหรือกำหนด  แน่นอนว่าไม่ได้ขับรถด้วยอัตราเร็วเดียวตลอดเวลา ไม่ได้สนใจว่าที่ขณะหนึ่งขณะใดรถวิ่งด้วยอัตราเร็วเท่าใด ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับอัตราเร็วเฉลี่ย โดยที่

    อัตราเร็วเฉลี่ย  =      ระยะทางรวมที่รถวิ่ง
                                      เวลาที่ใช้
การคำนวณหาอัตราเร็วเฉลี่ยได้ไม่ยาก  ตัวอย่างเช่นถ้าขับรถได้ระยะทาง 60 กม. ในเวลา 1 ชม กล่าวได้ว่าอัตราเร็วเฉลี่ยเท่ากับ 60 กม./ชม. ถ้าเคลื่อนที่ได้ 240 กม. ในเวลา 4 ชม.  หาอัตราเร็วเฉลี่ยได้ดังนี้

อัตราเร็วเฉลี่ย    =       ระยะทางรวมทั้งหมด     =   240  = 60 km/h
                                       เวลาที่ใช้ทั้งหมด              4
จะเห็นว่าเมื่อระยะทางวัดเป็นกิโลเมตร(km) หารด้วยเวลาวัดเป็นชั่วโมง(h) ผลลัพธ์คำตอบที่ได้เป็น กิโลเมตรต่อชั่วโมง (km/h)

     เนื่องจากอัตราเร็วเฉลี่ยคือระยะทางครอบคลุมทั้งหมดที่เดินทางได้หารด้วยเวลารวมทั้งหมดที่ใช้ในการเดินทาง ไม่ได้บ่งบอกถึงอ้ตราเร็วที่แตกต่างและการเปลี่ยนแปลงอัตราเร็วที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ในทางปฏิบัติเรามีประสบการณ์กับอัตราเร็วที่หลากหลายเกือบตลอดการเดินทาง  ดังนั้นอัตราเร็วเฉลี่ยจึงต่างจากอัตราเร็วที่ขณะหนึ่งขณะใด ไม่ว่าเรากล่าวถึงอัตราเร็วเฉลี่ยหรืออัตราเร็วที่ขณะหนึ่งขณะใด เรากำลังพูดถึงอัตราที่เคลื่อนที่ไปตามระยะทาง

โจทย์คำถาม 
1.เมื่อเดินทางเซ็ตมีเตอร์รถยนต์ให้เป็นศูนย์ เมื่อเวลาผ่านไปครึ่งชั่วโมง มีเตอร์อ่านได้ 35 Km  a)จงคำนวณหาอัตราเร็วเฉลี่ย b) เป็นไปได้หรือไม่ที่จะขับรถที่อัตราเร็วเฉลี่ยนี และขับไม่เกิน 70 km/hที่อ่านจากมีเตอร์เลยตลอดเส้นทาง
2. เสือชีต้าวิ่งได้ด้วยอัตราเร่ง 25m/s  ใน 1 วินาทีได้ระยะทาง 25 เมตรเสมอ ดัวยอัตรานี้ เสือจะวิ่งได้ไกลเท่าใดเมื่อเวลาผ่านไป 10 วินาที และ 1 นาที

2.3 ความเร็ว (velocity)
      ตามภาษาพูดเรามักจะใช้คำว่าอัตราเร็วและความเร็วสลับกันไปมาในความหมายเดียวกัน ในทางฟิสิกส์ ได้ทำให้แตกต่างกัน โดยที่กำหนดให้ความเร็วคืออัตราเร็วตามทิศทางที่กำหนด  เมื่อกล่าวว่ารถเดินทางได้ 60 km/h บ่งขี้ถึงอัตราเร็ว  แต่ถ้ากล่าวว่า รถยนต์เคลื่อนที่ 60 km/hไปทางเหนือ เป็นการบ่งชี้ถึงความเร็ว  จากอัตราเร็วเป็นการอธิบายว่าเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร ส่วนความเร็วกำหนดว่าเคลื่อนที่เร็วเท่าใดในทิศทางใด

โจทย์คำถาม
1. มีเตอร์รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่ไปทางเหนืออ่านได้ 60 km/h วิ่งผ่านรถยนต์อีกคันที่เคลื่อนที่ไปทางใต้ 60 km/h รถยนต์ทั้งสองคันมีอัตราเร็วเดียวกันหรือไม่ และรถทั้งสองคันมีความเร็วเดียวกันหรือไม่?

ความเร็วคงที่
จากนิยามที่กำหนดความเร็ว  การที่มีความเร็วคงที่นั้นต้องมีทั้งอัตราเร็วและทิศทางคงที่  อัตราเร็วคงที่หมายถึงการเคลื่อนที่ยังคงอยู่ที่อัตราเร็วเดิม วัตถุที่เคลื่อนที่ไม่ได้เคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือช้าลง ส่วนทิศทางคงที่หมายถึงการเคลื่อนที่อยู่ในเส้นตรง เส้นทางการเคลื่อนที่ไม่เป็นทางโค้ง การเคลื่อนที่ที่ความเร็วคงที่เป็นการเคลื่อนที่ตามเส้นตรงด้วยอัตราเร็วคงที่

การเปลี่ยนแปลงความเร็ว
   ถ้าอัตราเร็ว หรือ ทิศทาง หรือทั้งสองอย่างกำลังเปลี่ยนแปลง  แล้วความเร็วพิจารณาว่ากำลังเปลี่ยนแปลง ความเร็วคงที่กับอัตราเร็วคงที่ไม่เหมือนกัน  ตัวอย่างเช่นวัตถุหนึ่งอาจเคลื่อนที่อัตราเร็วคงที่ตามเคิรฟ หรือทางโค้ง แต่ไม่ได้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เพราะทิศทางการเคลื่อนที่เปลี่ยนไปทุกขณะ

โจทย์คำถาม
1. จงบอกอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ในรถยนต์ ในกรณีที่ใช้เพิ่มอัตราเร็ว  ลดอัตราเร็ว  และที่ใช้ในเปลียนทิศทางของรถยนต์

2.4 ความเร่ง (Acceleration)
เราสามารถเปลี่ยนสถานะการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยการเปลี่ยนอัตราเร็ว โดยการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่หรือโดยก่ารเปลี่ยนทั้งอัตราเร็วและทิศทาง บางครั้งเราสนใจว่าเร็วเท่าใดที่ความเร็วเปล่ี่ยนไป คนขับรถบนถนน 2 เลน ที่ต้องการแซงรถอีกคันโดยการเพิ่มความเร็วรถให้เร็วขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ อัตราที่ความเร็วเปลี่ยนไปเรียกว่าความเร่ง เพราะว่าความเร่งเป็นอัตราเป็นการวัดว่าเร็วเท่าใดที่ความเร็วเปลี่ยนไปต่อหน่วยของเวลา

                 ความเร่ง  =  การเปลี่ยนความเร็ว
                                      ช่วงเวลา

เราต่างคุ้นเคยกับความเร่งรถยนต์ เมื่อคนขับเหยียบคันเร่ง ผู้โดยสารที่นั่งในรถจะรู้ได้ถึงความเร่ง ที่เหมือนมีแรงดันให้ตัวเคลื่อนไปด้านหลังจากตำแหน่งที่นั่ง แนวคิดหลักในการกำหนดความเร่งคือการเปลี่ยนแปลง เมื่อไรก็ตามที่เราเปลี่ยนสถานะการเคลื่อนที่ เรากำลังมีความเร่ง รถยนต์ที่สามารถเร่งขึ้นได้ดีมีความสามารถในการเปลี่ยนความเร็วได้อย่างรวดเร็ว รถยนต์ที่เคลื่อนไปจากความเร็วเป็น 0 ไปเป็นความเร็ว 60 km/h ภายใน 5 วินาที จะมีความเร่งมากกว่ารถยนต์อื่นที่มีความเร่งจาก 0 ไปเป็น 80 km/h ในเวลา 10 วินาที  ดังนั้นการมีความเร่งที่ดีคือการเปลี่ยนได้เร็ว และไม่จำเป็นต้องเร็ว

ในทางฟิสิกส์เทอมความเร่งประยุกต์ใช้กับการลดความเร็วด้วยเช่นเดียวกับการเพิ่มอัตราเร็ว เบรคของรถยนต์สามารถสร้างแรงต้านความเร่งได้สูง นั่นคือสามารถที่จะลดอัตราเร็วต่อวินาที การเป็นเช่นนี้มักเรียกกันว่าการลดความเร่งหรือการหน่วงหรือความเร่งแบบลบ  เรารู้ได้ถึงความหน่วงเมื่อรถเบรคกระทันหันตัวเราจะเคลื่อนคม่าไปด้านหน้า

ความเร่งยังประยุกต์ใช้กับการเปลี่ยนทิศทางเช่นเดียวกับการเปลี่ยนอัตราเร็ว หากเรานั่งรถยนต์ตามทางโค้งด้วยอัตราเร็วคงที่ 50  km/h เราจะรู้ได้ถึงผลของการเคลื่อนที่เป็นทางโค้งที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเราเคลื่อนไปทางด้านนอกของทางโค้ง เราอาจจะเคลื่อนด้วยอัตราเร็วคงที่แต่ความเร็วไม่ได้คงที่เพราะว่าทิศทางเปลี่ยนไปและถือว่าตัวเรามีความเร่งพร้อมกับรถ ตอนนี้จะเห็นได้ว่าทำไมต้องแบ่งแยกระหว่างอัตราเร็วและความเร็ว และทำไม่จำกับหนดความเร่งเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วมากกว่าที่จะเป็นอัตราเร็ว  ความเร่งเหมือนกับความเร็วที่มีทิศทาง ถ้าเราเปลี่ยนอัตราเร็วหรือทิศทางหรือทั้งสองถือว่าเราเปลี่ยนความเร็วและเรามีความเร่ง

ในกรณีที่การเคลื่อนที่ไปตามเส้นตรงอาจให้อัตราเร็วกับความเร็วเหมือนกันได้หรือสลับกัน เมื่อทิศทางไม่มีการเปลี่ยนแปลง แล้วความเร่งสามารถกำหนดเป็นอัตราที่เปลี่ยนอัตราเร็วได้

เนื่องจากความเร่งคืออัตราการเปลี่ยนความเร็วหรืออัตราเร็วต่อช่วงเวลา จะมีหน่วยเป็นหน่วยของอัตราเร็วต่อเวลา  ถ้าเราเร่งความเร็วขึ้นโดยไม่เปลี่ยนทิศทางจาก 0 ไปถึง 10 km/h ใน 1 วินาทีการเปลี่ยนแปลงอัตราเร็ว 10 km/h ในช่วงเวลา 1 วินาที ความเร่งตามเส้นตรง คือ

             ความเร่ง  =   การเปลี่ยนอัตราเร็ว   =  10 km/h   =  10 km/h
                                     ช่วงเวลา                        1 s  

ความเร่ง 10 km/h.s อ่านว่า 10 กิโลมีเตอร์ต่อชั่วโมงวินาที จะเห็นว่าเป็นหน่วยเวลาที่ 2  เวลาแรกในหน่วยของอัตราเร็ว เวลาที่สองเป็นช่วงเวลาที่อัตราเร็วเปลี่ยนแปลง

โจทย์คำถาม
1. สมมุติว่า รถยนต์คนหนึ่งเคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นตรงสม่ำเสมอเพิ่มอัตราเร็วขึ้นทุกวินาที  ครั้งแรกเพิ่มจาก 35 ไปเป็น 40 km/h รถมีความเร่งเท่าใด
2. ภายใน 5 วินาทีรถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่ไปตามเส้นตรงเพิ่มอัตราเร็วจาก 50 km/h ไปเป็น 65 km/h ขณะที่รถบรรทุกเคลื่อนจากหยุดนิ่งไปเป็น 15 km/h ตามแนวเส้นตรง รถคันใดที่มีความเร่งมากกว่า และรถแต่ละคันมีความเร่งเท่าใด

2.5 การตกอย่างอิสระ เร็วเท่าใด
เมื่อปล่อยก้อนหินก็จะตกลงสู่พื้น กันหินนั้นมีความเร่งหรือไม่ขณะที่ตกลงมา เรารู้ว่าก้อนหินเคลื่อนที่จากตำแหน่งที่หยุดนิ่ง และเพิ่มอัตราเร็วขณะที่กำลังตกลงมา การที่อัตราเร็วเพิ่มขึ้นแสดงว่าก้อนหินมีความเร่งนั่นเองขณะที่ตกลงมา

ความโน้มถ่วงเป็นตัวการทำให้ก้อนหินตกสู่พื้น ตามสภาพจริงมีแรงต้านของอากาศมีผลต่อความเร่งของของวัตถุที่กำลังตกลงมา ลองจินตนาการว่าถ้าไม่มีแรงต้านทานของอากาศแล้วการตกลงมาของวัตถุเป็นผลจากความโน้มถ่วงอย่างเดียวถือว่าเป็นการตกอย่างอิสระ

ตาราง 2.2 แสดงการตกอย่างอิสระของวัตถุจากหยุดนิ่ง

เวลาที่ผ่านไป                    อัตราเร็วที่ขณะหนึ่ง
        0                                       0
        1                                       10
        2                                       20
        3                                       30
        4                                       40
        .                                         .
        t                                        10t

จากตามรางข้างบนเห็นแนวทางที่อัตราเร็วเปลี่ยนแปลง ระหว่างแต่ละวินาทีของการตกอัตราเร็วที่ขณะใดขณะหนึ่งของวัตถุเพิ่มขึ้นเพิ่มเติม 10 เมตร ต่อวินาที อัตราเร็วที่เพิ่มขึ้นต่อวินาทีคือความเร่ง

           ความเร่ง  =  การเปลี่ยนอัตราเร็ว  =   10 m/s   =  10 m/s.s
                                  ช่วงเวลา                       1s

จะเห็นว่าการเปลี่ยนอัตราเร็วเป็น m/s ช่วงเวลาเป็น s ความเร็งก็จะเป็น m/s^2 (อ่านว่าเมตรต่อวินาที่ยกกำลังสอง) หน่วยของเวลานำเข้ามาสองครั้งจากอัตราเร็วและจากเวลาช่วงที่มีการเปลี่ยนความเร็ว

การตกของวัตถุภายใต้เงื่อนไขที่ไม่คิดแรงต้านจากอากาศประมาณ 10 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง (10 m/s^2) สำหรับการตกอย่างอิสระมักจะใช้ตัวอักษร g แทนความเร่ง (เพราะเป็นการตกอย่างอิสระเกิดความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง)  แม้ว่าค่า g จะเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อยตามตำแหน่งส่วนต่างๆของโลกที่แตกต่างกัน โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณใกล้เคียง 10 m/s^2  ที่ค่าถูกต้องใกล้เคียงมากยิ่งขึ้นที่ 9.8 m/s^2  แต่จะง่ายกว่าที่จะเห็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องเมื่อปัดเลขให้เป็นจำนวนเต็ม 10 m/s^2  เมื่อไรที่ต้องการความละเอียดเป็นสำคัญก็ใช้ค่าความเร่งเป็น 9.8 m/s^2  เป็นค่าระหว่างการตกอย่างอิสระ
     จะเห็นว่าตามตามรางข้างบนอัตราเร็วที่ขณะหนึ่งขณะใดของวัตถุที่กำลังตกลงมาจากจุดหยุดนิ่งเท่ากับค่าความเร่งคูณด้วยเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนตกลงมา

             อัตราเร็วที่จุดใดจุดหนึ่ง  = ความเร่ง x เวลาที่ใช้ไป

อัตราเร้วที่ขณะใดขณะหนึ่ง v  ของวัตถุตกลงมาจากจุดหยุดนิ่งเป็นช่วงเวลา t  สามารถเขียนได้ดังนี้

                            v = gt

สัญลักษณ์ v แทนทั้ง อัตราเร็ว และความเร็ว ตรวจสอบการใช้สมการนี้กับตางที่บันทึกค่าไว้แล้ว  เมื่อไรก็ตามที่ความเร่ง g = 10 m/s^2 คูณกับเวลาที่ผ่านไปเป็นวินาทีก็จะได้อัตราเร็วที่ขณะใดขณะหนึ่งเป็นเมตรต่อวินาที

โจทย์คำถาม
ให้คำนวณหาอัตราเร็วหลังจาก ตกลงมาจากจุดหนุดนิ่งได้ 4.5 วินาที และอัตราเร็วจะเป็นเท่าใด หลังจาก 8 วินาที และ 100 วินาที

ที่ผ่านมาเราได้พิจารณาวัตถุที่เคลื่อนที่ลงเป็นเส้นตรงภายใต้ความโน้มถ่วง  ตอนนี้จะพิจารณาเมื่อขว้างวัตถุขึ้นไปในแนวดิ่งหรือแนวตั้ง วัตถุก็จะเคลื่อนไปตามเส้นในแนวดิ่งครู่หนึ่ง แล่วจะตกลงมา ที่จุดสูงสุดที่วัตถุขึ้นไปได้ ขณะที่กำลังเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่จากทิศขึ้นมาทิศลงนั้น อัตราเร็วขณะหนึ่งขณะใดเป็น 0 แล้วเริ่มต้นเคลื่อนที่ลงเหมือนกับที่ปล่อยจากจุดที่หยุดนิ่ง

ขณะที่มีการเคลื่อนที่ขึ้นวัตถุเคลื่อนที่ช้าลงจากความเร็วทิศขึ้นเข้าสู่ความเร็ว  ทราบได้ว่าเป็นความเร่งเนื่องจากการเปลี่ยนความเร็ว โดยอัตราเร็วลดลง  ความเร่งที่มีทิศขึ้นจะเหมือนกับความเร่งที่เกิดขึ้นทิศลง g = 10m/s^2  อัตราเร็วที่ขณะใดขณะหนึ่งตามเส้นทางเหมือนกันไม่ว่าวัตถุจะเคลื่อนที่ขึ้นหรือเคลื่อนที่ลงดังรูป
จากรูปอัตราซึ่งอัตราเร็วเปลี่ยนแต่ละวินาทีเหมือนกันไม่ว่าจะเคลื่อนที่ขึ้นหรือเคลื่อนที่ลง เพียงแต่ในทิศทางที่ต่างกัน ดังนั้นความเร็วจึงแตกต่างกัน ในแต่ละวินาทีอัตราเร็วหรือความเร็วเปลี่ยนไป 10  m/s ความเร่งเท่ากับ 10 m/s^2 ตลอดเวลาไม่ว่าวัตถุเคลื่อนที่ขึ้นหรือเคลื่อนที่ลง

2.6 ระยะทางจากการตกอย่างอิสระ 
การตกอย่างอิสระลงมาด้วยความเร็วเท่าใด ต่างจากการตกลงมาได้ระยะทางเท่าใด เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้กลับไปที่ตารางแสดงการตก ตอนปลายวินาทีแรก และวัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วขณะหนึ่งขณะใด 10 m/s  เป็นการเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 10 m ในวินาทีแรกหรือไม่ คงไม่ใช่เพราะเรารู้ว่าอัตราเร็วเริ่มจาก 0 อัตราเร็วเฉลี่ยไม่ใช่ 10 m/s แน่นอน อัตราเร็วเฉลี่ยควรจะเป็นค่าเฉลี่ยของความเร็วต้นบวกความเร็วปลายวินาที่แรกหารด้วย 2  นั้นคือ (0+10)/2 = 5 m/s ในช่วงเวลาวินาทีแรก เมื่ออัตราเร็วเฉลี่ย 5m/s ได้ระยะทาง 5 m

โจทย์คำถาม 
1ระหว่างช่วงเวลาเป็นวินาที ตามตาราง วัตถุเริ่มต้นที่ 10 m/s สิ้นสุดที่ 20 m/s จงหาอ้ตราเร็วเฉลี่ยของวัตถุในช่วงเวลา 1 วินาที่ และมีความเร่งเท่าใด
2. แอปเปิลผลหนึ่งหล่นจากต้นกระทบพื้นใน 1 วินาที มีอัตราเร็วเทาใดขณะกระทบพื้น อัตราเร็วเฉลียเท่าใดระหว่างเวลา 1 วินาที  ผลไม้นี้อยู่สูงจากพื้นเท่าใดตอนที่กำลังจะหล่นจากต้น

ตาราง 2.3 ระยะทางการตกอิสระของวัตถุจากที่หยุดนิ่ง
เวลาที่หมดไป                  ระยะทางที่ตกลงมาได้ (เมตร)
      0                                            0
      1                                            5
      2                                            20
      3                                            45
      4                                            80
      .                                              .
      t                                             1 g t^2
                                                    2

    ตาราง 2.3 ข้างล่างแสดงระยะทางรวมที่วัตถุเคลื่อนที่จากการตกอย่างเสรี จากการปล่อยจากที่หยุดนิ่ง เป็นเวลา 1วินาที ตกลงมาได้ 5 เมตร   2 วินาทีตกลงมาได้ 20 m  3วินาทีตกลงมาได้ 45 เมตร ด้วยค่าระยะทางตามตารางนี้จัดลงรูปแบบทางคณิตศาสตร์เมื่อใช้เวลาไป t วินาที  เมื่อให้วัตถุตกลงมาเป็นระยะทาง d  เท่ากับ 1/2gt^2 

2.7 แรงต้านอากาศกับการตกของวัตถุ
    การปล่อยขนนกและเหรียญให้ตกลงมาเราจะสังเกตเห็นได้ว่าเหรียญจะเคลื่อนตกถึงพื้นก่อนขนนก แรงต้านจากอากาศส่งผลทำให้มีความเร่งในการตกแตกต่างกัน การพิสูจน์ยืนยันในเรื่องนี้ก็โดยการให้ขนนกและเหรียญตกในกระบอกแก้วใสที่ดูดอากาศออกจนเป็นศูนยากาศจะพบว่าขนนกและเหรียญตกถึงพื้นของกระบอกแก้วได้พร้อมกัน สรุปได้ว่าแรงดันอากาศมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกลงมา เช่นแผนกระดาษหรือขนนกดังกล่าว แต่แรงต้านทานอากาศมีผลกระทบน้อยกับวัตถุที่แข็งกระทัดรัดเช่นก้อนหิน ลูกกอร์ฟ ที่วัตถุลักษระนี้เมื่อเคลื่อนที่ตกลงมาพิจารณาให้เป็นการตกอย่างอิสระได้

2.8 เร็วและไกลเท่าใด และ การเปลี่ยนแปรงเร็วเท่าใด
    ความสับสนที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของวัตถุที่กำลังตกลงมา เกี่ยวกับการปนกันระหว่าง เร็ว และ ไกลเท่าใด  เมื่อเราต้องการบ่งถึงว่าเร็วเท่าใดบางอย่างเคลื่อนที่ตกอย่างเสรีจากหยุดนิ่ง หลังจากเวลาผ่านไป เรากำลังกล่าวถึงอัตราเร็วหรือความเร็ว สมการที่ให้หาค่า คือ v = gt  เมื่อเราต้องการบ่งถึงว่าวัตถุตกลงมาไกลเท่าใด เรากำลังกล่าวถึงระยะทาง สมการที่ใช้หาระยะทาง คือ 
d = 1/2gt^2
    มโนทัศน์ที่สับสนกันมากที่สุด และคำถามหนึ่งที่ยากที่สุดที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ อย่างเร็วเท่าใดที่อัตราเร็วหรือความเร็วเปลี่ยนแปลง : ความเร่ง  อะไรที่ทำให้ความเร่งมีความซับซ้อน ก็ตรงที่ว่าเป็นอัตราของอัตรา ที่มักจะสับสนกับความเร็วที่ตัวเองก็เป็นอัตรา (อัตราที่ครอบคลุมระยะทาง) ความเร่งไม่ใช่ความเร็วหรือไม่ใช่แม้แต่การเปลี่ยนความเร็ว ความเร่งเป็นอัตราซึ่งความเร็วเองเปลี่ยนแปลง

ไม่มีความคิดเห็น: