วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

สรุปบทที่ 5 คำถามทบทวน

สรุป มโนทัศน์
การปฏิสัมพันธ์ระหว่าง 2 สิ่ง ก่อให้เกิดคู่ของแรง
-แต่ละสิ่งออกแรงกระทำต่อกันและกัน
-แรงสองแรงนั้นเรียกว่าแรงกริยาและแรงปฏิกริยา
-แรงกริยาและแรงปฏิกริยามีขนาดของแรงเท่ากันแต่มีทิศทางตรงข้ามกัน

คำถามทบทวน
1. มีหลักฐานใดที่สามารถนำมาอ้างสนับสนุนแรวคิดที่ว่ากำแพงสามารถออกแรงผลักตัวคุณ
2. หมายความว่าอะไรโดยการกล่าวว่ามีแรงหนึ่งๆ อันเนื่องจากการปฏิสัมพันธ์
3. เมื่อฆ้อนปฏิสัมพันธ์กับตะปูซึ่งออกแรงกระทำต่ออะไร
4. เมื่อฆ้อนออกแรงกระทำต่อตะปู จำนวนแรงเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับที่ตะปูกระทำต่อฆ้อน
5. ทำไมจึงกล่าวว่าแรงเกิดขึ้นเป็นคู่เท่านั้น
6. เมื่อคุณเดินไปตามพื้นห้อง จริงแล้วมีอะไรผลักคุณอยู่ขณะเดิน
7. เมื่อว่ายน้ำ คุณผลักน้ำไปด้านหล้ง เรียกว่าเป็นแรงกริยา แล้วแรงปฏิกริยาที่ชัดเจนคืออะไร
8. ถ้าแรงกริยาคือเชือกที่คันธนู กระทำบนลูกธนู ให้ค่าแรงปฏิกริยา
9. เมื่อคุณกระโดดขึ้นในอากาศ โลกดึงดูดกลับลงมา ให้หาแรงปฏิกริยา
10. เมื่อยิงปืนไรเฟิน ขนาดของแรงปืนที่กระทำต่อกระสุนเปรียบเทียบกับแรงที่กระสุนทำต่อปืนไรเฟินเป็นอย่างไร ความเร่งของปืนไรเฟินและกระสุนปืนเปรียบเทียบกันเป็นอย่างไร
11. เนื่องจากแรงกริยาและแรงปฏิกริยาขนาดเท่ากันเสมอ และทิศทางตรงกันข้ามกัน ทำไมทั้งสองแรงไม่หักล้างกันและกัน และทำให้แรงลัพธ์มากกว่าศูนย์เป็นไปไม่ได้
คำถามท่ 12-15 อ้างถึงรูปที่ 5.10
a. นอกจากแรงโน้มถ่วงแล้วมีแรงใดบ้างกระทำต่อเกวียน
b.ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษรแสดงในรูป อะไรคือแรงลัพธ์ที่กระทำต่อเกวียน
13. a. นอกจากแรงโน้มถ่วงแล้วมีแรงกี่แรงที่กระทำต่อม้า
      b. แรงลัพธ์ใดที่กระทำต่อม้า
      c. มีกี่แรงกระทำโดยม้าบนวัตถุอื่นๆ
14. a. มีกี่แรงที่กระทำต่อระบบ ม้า-เกวียน
      b. มีแรงลัพธ์ใดกระทำต่อระบบ ม้า-เกวียน
15. เพื่อที่จะเพิ่มอัตราเร็ว ทำไมม้าต้องออกแรงผลักพื้นมากขึ้นกว่าที่ม้าดึงเกวียน
16. ถ้าคุณชกกำแพงด้วยแรง 200 นิวตัน มีแรงเท่าใดกระทำต่อคุณ
17.ทำไมคุณไม่สามารถจะชกหรือตีขนนกที่ลอยอยู่ในอากาศด้วยแรง 200 นิวตัน
18. ทำไมจึงง่ายกว่าที่เดินบนพรมกว่าเดินบนพื้นที่ขัดจนเป็นมันลื่น
19.ถ้าเราเดินบนไม้ซุงที่ลอยน้ำ ไม้ซุงเคลื่อนไปด้านหลัง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
20.สมมุติว่าเราชั่งน้ำหนักขณะที่ยืนติดกับซิงค์อ่างล้างหน้าหน้าห้องน้ำ โดยใช้แนวคิดเรื่องแรงกริยาและแรงปฏิกริยา ทำไมอ่านค่าน้ำหนักจากตาชั่งได้น้อยลงเมื่อเอามือกดซิงค์ไปด้วย(รูปA) และทำไมอ่านค่าน้ำหนักได้มากขึ้นถ้าเอามือดึงซิงค์ขึ้นจากตอนล่างของซิงค์
21. คู่ของน้ำหนัก 50 นิวตันจับยึดไว้กับตาชั่งสปริงดังแสดงในรูป B ตาชั่งสปริงอ่านค่าได้ค่อ 0, 50, หรือ 100 N (แนะ.. คงจะอ่านได้แตกต่างกันหรือไม่ถ้าด้านหนึ่งแทนที่จะแขวนน้ำหนัก 50 Nไว้ก็ใช้เมือจับไว้แทน

ไม่มีความคิดเห็น: